บันทึกการเรียนครั้งที่2
Lesson 2
วัน พุธ ที่18 เดือน มกราคม พ.ศ.2560Lesson 2
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย
อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล
ตนเอง My self
การบริหารสถานศึกษา
การบริหารสถานศึกษา หมายถึง
ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าหรือผู้นำดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร
โดยใช้กระบวนการบริหารกลุ่มบุคคล กระบวนการต่างๆ
ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำใหม่ เป็นผู้นำทางความคิด
การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างแรงจูงใจและจัดสรรการใช้ทรัพยากรต่างๆ
ให้เป็นกลุ่มงานที่สัมพันธ์กันอย่างดี
มีพลังคนที่มีความสามารถพร้อมสร้างบุคลากรให้ทำงานได้อย่างถูกต้องเพื่อให้บุคลากรร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพของงานภายในสถานศึกษาและให้บริการทางการศึกษาแก่สมาชิกของสังคม
ความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา
สิ่งที่ต้องตระหนักหรือให้ความสำคัญ
คือการบริหารงานบุคคล เพราะบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าในองค์กร
ที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้ไม่มีที่สิ้นสุด
ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้
ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์กรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรที่ปฏิบัติงาน เสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ
นั้นหมายถึงผู้บริหารจะต้องมีความรู้เรื่องการบริหารเป็นอย่างดี
หลักการและแนวคิด
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา
ขอบข่ายของการปฏิบัติงานของสถานศึกษาในการบริหารงานบุคคลนั้นมี
ภาระงานที่สำคัญๆ ที่สถานศึกษาควรปฏิบัติ ประกอบด้วย
ภาระงานที่สำคัญๆ ที่สถานศึกษาควรปฏิบัติ ประกอบด้วย
1.การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
โดยมีการวิเคราะห์ภารกิจและประเมินสภาพความต้องการกำลังคน
กับภารกิจของสถานศึกษามีการจัดทำภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และแจ้งภาระงาน มาตรฐานคุณภาพงาน มาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ
เกณฑ์ประเมินผลงานแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาก่อนมีการมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติงาน
2.การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง โดยมีการดำเนินการสอบแข่งขัน
สอบคัดเลือกและคัดเลือกในกรณีจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษในตำแหน่งครูผู้ช่วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นในสถานศึกษา
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
ศาสตร์ เพราะ มีหลักการ กฎเกณฑ์
และทฤษฏีที่เชื่อถือได้ เกิดจากการศึกษา
ค้นคว้าเชิงวิทยาสาสตร์
ค้นคว้าเชิงวิทยาสาสตร์
ศิลป์ เพราะต้องทำงานกับคน
ต้องเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
ต้องฝึกให้ชำนาญ จึงต้องประยุกต์ใช้อย่างมีศิลป์
ต้องฝึกให้ชำนาญ จึงต้องประยุกต์ใช้อย่างมีศิลป์
ตัวอย่างทฤษฎีที่นำมาใช้ในการบริหาร
ทัศนะดั้งเดิม (Classical
viewpoint)
การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
Frederick.
W. Taylor (เทเลอร์) บิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ได้เสนอ หลัก
4 ประการ
1. ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์
มีการแยกวิเคราะห์งาน
2. มีการวางแผนการทำงาน
3. คัดเลือกคนทำงาน
4.
ใช้หลักการแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ
การจัดการเชิงบริหาร
Henry Fayol : หลักการบริหาร 14 หลักการ
และขั้นตอนการบริการ POCCC
Chester Barnard : ทฤษฏีการยอมรับอำนาจหน้าที่
Luther Gulick : ใช้หลักการของ Fayol
โดยใช้คำย่อว่า POSDCoRB ซึ่งเป็นหน้าที่ 7
ประการ
การบริหารแบบราชการ
Max Weber พัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
1.
มีกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการตัดสินใจ
2.
ความไม่เป็นส่วนตัว
3.
แบ่งงานกันทำตามความถนัด ความชำนาญเฉพาะทาง
4.
มีโครงสร้างการบังคับบัญชา
5.
ความเป็นอาชีพที่มั่นคง
6.
มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ โดยมีกฎระเบียบรองรับ
7.
ความเป็นเหตุเป็นผล
ข้อเสียของระบบราขการ
-ระเบียบปฏิบัติที่เคร่งครัดเกินไป
ไม่ยืดหยุ่นทำให้งานล่าช้า ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์
-การรวมศูนย์อำนาจ ทำให้ตัดสินใจล่าช้า ไม่ทันเหตุการณ์และเทคโนโลยี
-การมีสายการบังคับบัญชา
ทำให้เกิดการชิงดีชิงเด่น ประจบประแจง
-การแบ่งงานตามความถนัดเป็นกลุ่ม
ทำให้เกิดการสร้างอาณาจักร
ทั้ง 3
ทฤษฎีมีความเหมือนและความแตกต่างกันคือ
ความเหมือน
ด้านโครงสร้าง เน้นการแบ่งงานกันทำ
การมีสายการบังคับบัญชา กำหนดหน้าที่ของการบริหาร เน้นหลักการ
ด้านผู้ปฏิบัติ เหมือนเครื่องจักร
เน้นสิ่งจูงใจด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงในงาน ความต้องปรับตัวเข้ากับงาน
ด้านผู้นำ ให้ความสำคัญกับบทบาทผู้นำ
เอกภาพ ระบบคุณธรรม เป้าหมายองค์กรสำคัญกว่าบุคคล
ด้านการตัดสินใจ เน้นความเป็นเหตุผล
ประสิทธิภาพ กำไร
ความต่าง
Taylor : กำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุด The
one best way
Fayol : เน้นหลักการ 14 หลักการ
Weber : เน้นระเบียบข้อบังคับ มีเกณฑ์ประเมินผล
ประเมินAssessment
มีความพร้อมี่จะเรียน ตั้งใจเรียนเข้าเรียนก่อนเวลาเรียน
เพื่อน Classmate
สนุกสนานไปกับการเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียน ไม่คุยกันขณะอาจารย์พูด
ผู้สอน Instructor
สอนเนื้อหาได้เข้าใจง่าย แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา ดูแลนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง
ห้องเรียน Place
แอร์เย็นพอดี ห้องเรียนสะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น