ยินดีต้อนรับสู่ Blogger ของ นางสาวประภัสสร สีหบุตร ค่ะ

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกอนุทินครั้งที่5

บันทึกการเรียนครั้งที่5
Lesson 5

วัน พุธ ที่25 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge 

นำเสนองานกลุ่มที่เหลือต่อจากสัปดาห์ที่แล้วโดยมีหัวข้อเรื่องดังนี้

-กลุ่ม เรื่องศูนย์เด็กเล็ก
สรุปได้ดั่งนี้  
               ความหมาย
               สถานที่ดำเนินการรับเลี้ยงเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี จำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป โดยผู้ดำเนินการมิใช่ญาติกับเด็กซึ่งอาจมีคำเรียกแตกต่างกันไป เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์รับเลี้ยงเด็กก่อนเกณฑ์และสถานรับเลี้ยงเด็กเป็นต้น ความมุ่งหมายของการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่เพื่อเป็นการยกระดับพื้นฐานชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กทุกคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
              ความสำคัญของศูยน์เด็กเล็ก
              เป็นการจัดการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นการสร้างรากฐานชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมตามปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546

ตัวอย่าง
           ศูนย์เด็กเล็กบ้านเตราะบอน จังหวัดปัตตานี


-กลุ่ม เรื่องศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา

สรุปได้ดั่งนี้  
               ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงเด็กและดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชน และดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการชุมชนเด็กก่อนวัยเรียน หมายความว่า เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี

สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ 
                   มีจุดประสงค์เดียวกัน  คือ
1. เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดี เจริญตามวัย และสุขนิสัยที่ดี
2. เพื่อให้เด็กสามารถช่วยตนเองให้เหมาะสมกับสภาพและวัยของตนเอง
3. เพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
4. เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
5. เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสามารถและได้รับการตอบสนองตามความต้องการพื้นฐาน

ตัวอย่าง

ศาสนาพุทธ  ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดศรีบุญเรือง




ศาสนาอิสลาม  ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดอัลกอบาดีน  บ้านคลองเดาะ




ศาสนาคริสต์  สถานรับเลี้ยงเด็กรักนิรันด์เนิอสเซอรี่



-กลุ่ม เรื่องศูนย์รับเลี้ยงเด็ก
สรุปได้ดั่งนี้
                    ความหมาย
                    สถานที่รับเลี้ยงเด็กและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนของรัฐและเอกชน (พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546)
               ความสำคัญ
               พัฒนางานบริการในการเลี้ยงดูเด็กให้มีมาตรฐาน และคุณภาพเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต





โครงสร้างขององกรณ์และการจัดระบบบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

-การบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีลักษณะการบริหารเฉพาะตัวที่ต้องคำนึงดังต่อไปนี้
1.นโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล
2.แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
3.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
5.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

-การจัดประเภทและรูปแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทยจัดตามโครงสร้างการบริหารตามขนาด แบ่งเป็น3 ขนาดคือ 
1.โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดเล็ก
2.โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดกลาง
3.โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดใหญ่




  






บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกการเรียนครั้งที่4
Lesson 4

วัน พุธ ที่2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
  
นำเสนองานกลุ่มโดยมีหัวข้อ เรื่องที่นำเสนอดังนี้

-กลุ่ม เรื่องศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
สรุปได้ดั่งนี้  
                  ศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน หมายถึง  สถานที่ผู้ปกครองนำเด็กมาฝากเลี้ยงเฉพาะเวลากลางวันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ตั้งอยู่ในชุมชน ในวัด หรือศูนย์สงเคราะห์เด็กในอาคาร มีการจักการเรียนรู้ให้เด็กเล็กที่มีอายุ2-5ปี
                 ความสำคัญ
                 เพื่อพัฒนาความพร้อมทั้ง4ด้านอย่างเต็มที่ซึ่งจะส่งผลกระทบที่ดีต่อไปในอนาคต
                วัตถุประสงค์
                 เพื่อเพิ่มโอกาสให้เด็กได้เตรียมความพร้อมเด็กมีพัฒนาการทั้ง4ด้านที่เหมาะสมและยังเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่ไม่มีผู้เลี้ยงดูในเวลากลางวัน

ตัวอย่างเช่น  

 โรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนค่ายสุรสีห์






-กลุ่ม เรื่องศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
สรุปได้ดั่งนี้  
                 ศุนย์พัฒนาเด็กปฐมวํย คือศุนย์เลี้ยงเด็กเล็กให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการในทุกๆด้านที่สมบูรณ์ ให้บริการรับเลี้ยงเด็ก  6เดือน-3ปี

ตัวอย่างเช่น 
                มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดหลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณทิต สาขาพัฒนาการมนุษย์และได้ก่อตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อพัฒนาเด็กเล็กและครอบครัวมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
               มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ศึกษเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยศึกษาเรื่องการบริบาลเด็กปฐมวัย







-กลุ่ม เรื่องศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยหรือเนิร์สเซอรี่
สรุปได้ดั่งนี้  
                 ความหมายของสถานพัฒนาเด็กอธิบายตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 )พ.ศ.2545 กล่าวไว้ใน มาตราที่18 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยคือกระทรวงการศึกษาที่ทำหน้าที่จัด การศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยที่จัดในรูปของศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถานบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะเริ่มแรกของเด็กพิการ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
             เนิร์สเซอรี่ คือ
             สถานที่รับเลี้ยงดูเด็กเล็กก่อนวัยอนุบาล ซึ่งเรา สามารถเรียกว่าเป็น “สถานรับเลี้ยงเด็ก” โดยส่วนใหญ่จะรับ เลี้ยงดูเด็กเล็กอายุแรกเกิดถึง 3 ขวบ แต่บางแห่งอาจรับเฉพาะใน ระดับ 2-3 ขวบ คือระดับ “เตรียมอนุบาล” และบางแห่งอาจรับดูแล เด็กอายุแรกเกิดถึง 6 ขวบ (เตรียมประถม)
            ความสำคัญ คือ
เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อสถานศึกษาให้กับเด็กแรกเกิด -6ปีเป็นการให้ การศึกษาช่วงแรกของชีวิตรองจากครอบครัว โดยเป็นหน่วยปฏิบัติการที่ทำหน้าที่พัฒนาเด็กตามแนวทางและนโยบายของชาติในการพัฒนาเด็กสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

ตัวอย่างเช่น

โรงเรียนบ้านรักเนิร์สเซอรี่



-กลุ่ม เรื่องศูนย์พัฒนาเด็กและรับเลี้ยงเด็กศิริราช
สรุปได้ดั่งนี้
              ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก
           สถานที่รับเลี้ยงเด็กและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนของรัฐและเอกชน (พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546)
           ความสำคัญ
           พัฒนางานบริการในการเลี้ยงดูเด็กให้มีมาตรฐาน และคุณภาพเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต
          วัตถุประสงค์
1.พัฒนางานบริการในการเลี้ยงดูเด็กที่มีมาตรฐานและคุณภาพและส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัยและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต
2.ส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่ในที่ทำงาน
3.เป็นแบบอย่างของการให้บริการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กระดับประเทศ
4.ฝึกอบรมพี่เลี้ยงเด็กให้มีคุณภาพ

ตัวอย่างเช่น
                                                   
 ศูนย์รับเลี้ยงเด็กและพัฒนาเด็กศิริราช




-กลุ่ม สถาศึกษาประเภทโรงเรียนอนุบาล หรือ Kindergarten
สรุปได้ดั่งนี้  
               ความหมายโรงเรียนอนุบาล หรือ Kindergarten แปลตรงตัวว่า “Children’s garden” หมายถึง “สวนเด็ก” เป็นสถานศึกษาก่อนวัยเรียน (Pre-school)พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนอนุบาล เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับก่อนประถมศึกษารับเด็กที่มีอายุ 4 – ก่อน 7 ปี
                  รูปแบบ
              ชั้นอนุบาล  ระยะเวลาในการจัดการศึกษาประมาณ 2 - 3 ปี สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 - 6 ปี
              ชั้นเตรียมประถมศึกษา  ระยะเวลาในการจัดการศึกษา 1 ปีสำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี

ตัวอย่างเช่น

โรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า




ประเมินAssessment
ตนเอง My self
ตั้งใจฟังอย่างมีสมาธิ ไม่คุยกันกับเพื่อนขณะที่เพื่อนนำเสนอ
เพื่อน Classmate
ตั้งใจฟัง อย่างดีไม่เสียสมาธิ ไม่คุยกันขณะฟังเพื่อนนำเสนอ
ผู้สอน Instructor
ให้คำปรึกษากับนักศึกษาอย่างเต็มใจดูแลเอาใจใส่ทุกคน พูดจาไพเราะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา
ห้องเรียน Place
สะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม






บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกการเรียนครั้งที่3
Lesson 3

วัน พุธ ที่25 เดือน มกราคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
ความหมายและประเภทของผู้นำ
ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย

ประเภทของผู้นำ
1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) และมีอำนาจบารมี (Power) เป็นเครื่องมือ มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) เกิดพลังร่วมของกลุ่มในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจนี้ได้มาจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ในการปฏิบัติ จำแนกผู้นำประเภทนี้ออกเป็น 3 แบบ คือ
1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช
1.2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ
1.3 ผู้นำแบบพ่อพระ

2. ผู้นำตามการใช้อำนาจ
2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ
2.2 ผู้นำแบบเสรีนิยม
2.3 ผู้นำแบบประชาธิปไตย     

3.  ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก
3.1 ผู้นำแบบบิดา-มารดา
3.2 ผู้นำแบบนักการเมือง
3.3 ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ

ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย Michigan ได้ศึกษาพฤติกรรมของผู้นำ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
          1. ผู้นำที่มุ่งคน (Employee Oriented) คือผู้นำที่เน้นความมีสัมพันธภาพที่ดีกับพนักงาน กับบุคคลทั่วไป ยอมรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน
          2. ผู้นำที่มุ่งงาน (Production Oriented) เน้นวิธีการปฏิบัติงานและผลงานที่จะได้ มองพนักงานเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้เกิดผลงาน

คุณสมบัติของผู้นำ
1. ความมุ่งมั่น (drive)
2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership Motivation)
3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)

ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ กระบวนการหรือพฤติกรรมการใช้อิทธิพลเพื่อควบคุม สั่งการ เกลี้ยกล่อม จูงใจ ให้ผู้ตามหรือกลุ่ม ปฏิบัติตามเพื่อการบรรลุเป้าหมาย หรือความเป็นผู้นำนั้นเอง คุณสมบัติของผู้นำมีหลายอย่าง หลายด้าน ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นให้ถูกต้องและได้ผลดี โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. ตัวผู้นำ              
2. ผู้ตาม
3. จุดหมาย             
4. หลักการและวิธีการ
5. สิ่งที่จะทำ            
6. สถานการณ์

ลักษณะบทบาทของผู้นำ
1. ต้องมีความฉลาด (Intelligence)
2. ต้องมีวุฒิภาวะทางสังคมและใจกว้าง (Social Maturity & Achievement Drive)
3. ต้องมีแรงจูงใจภายใน (Inner Motivation)
4. ต้องมีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Attitudes)

บทบาทหน้าที่ของผู้นำ
1. ชี้แนะ ให้คำปรึกษา กำกับดูแล (Coaching)
2. เปลี่ยนทัศนคติลึก ๆ ในตัวคน
3. ดึงศักยภาพที่มีอยู่ โดยไม่ต้องเอาความรู้ข้างนอกมามากนัก
4. ทำให้สถานที่ทำงานเป็นที่รักของพนักงาน
5. Full fill Basic Need ให้คนในองค์การ เช่น ให้ตำแหน่ง
6. ดึงคนให้หลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัว ทัศนคติต้องเปลี่ยน

ความรู้เกี่ยวกับผู้บริหาร
ผู้บริหาร หรือ ผู้จัดการ  เป็นสมาชิกในองค์กร  แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่ทำงานในองค์กรจะเป็นผู้บริหารทุกคน  สมาชิกในองค์กรขนาดใหญ่แบ่งเป็น 2 ประเภท   คือ ผู้ปฏิบัติงานกับผู้บริหาร ในองค์การนั้นผู้บริหารต่าง ๆ อาจมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น  ผู้บริหารระดับล่างมักจะใช้ชื่อว่า  Supervisor  ถ้าในโรงงานอุตสาหกรรมจะเรียกว่า  Foreman   (หัวหน้างาน)   ส่วนผู้บริหารระดับกลางก็จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน  เช่น  ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการแผนก หัวหน้าหน่วย  คณบดี  ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร  รับผิดชอบในด้านนโยบาย กลยุทธ์  และตัดสินใจนั้น  ได้แก่ รองประธาน ประธาน  ผู้อำนวยการ อธิการ ประธานบอร์ด CEO

ผู้บริหารแบ่งออกเป็น5ประเภท
1. ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ  (Line Manager)
2. ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ  (Staff  Manager)
3. ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน  (Functional Manager)
4. ผู้บริหารทั่วไป  (General Manager)
5. ผู้บริหาร (Administrator)

คุณลักษณะนักบริหารมืออาชีพสรุปได้ดังนี้
1. Vision   เป็นผู้มีวิสัยทัศน์
2. Charisma   เป็นผู้มีเสน่ห์  มีแรงดึงดูด  สร้างความเชื่อให้คนเกิดความศรัทธา คล้อยตามได้
3. Integrity   มีความเป็นปึกแผ่น  เหนียวแน่น
4. Self – Less   ทำอะไรไม่นึกถึงตนเองแต่คำนึงถึงส่วนรวม
5. Courage       มีความกล้าหาญ
6. Uncompromising   ไม่ยอมอ่อนในเรื่องบางเรื่อง
7. High   Ground    ความมีมาตรฐานในตัวเองมีความซื่อสัตย์   และมีความโปร่งใสสูง

คุณลักษณะของผู้บริหาร
1. มีภาวะผู้นำ   มีศิลปะในการครองใจคน
2. มีเมตตาธรรม   ไม่มีอคติ  หรือ ฉันทคติ
3. ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุลและความถูกต้อง
4. เป็นนักคิด  นักวิเคราะห์
5. มีการสร้างวิสัยทัศน์
6. มีทักษะหลายด้าน •ทักษะในการตัดสินใจ •ทักษะในการวางแผน • ทักษะในการจัดองค์กร
• ทักษะในการแก้ไขปัญหา •ทักษะในการสร้างทีมงาน

ระดับผู้บริหารและระดับอำนาจ
1   1.ผู้บริหารหรือหัวหน้างานระดับต้น First – Line Manager
2   2.ผู้บริหารระดับกลาง  (Middle Managers)
3.     3.ผู้บริหารระดับสูง (Top Managers)

ระบบการบริหารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
          1.ระบบเปิด  (Open system) เป็นองค์การซึ่งดำเนินภายในและมีการปฏิสัมพัทธ์ (interacts) กับสภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก วิธีการบริหารงานอย่างอย่างมีระบบนั้นประกอบไปด้วย ปัจจัยจากสภาวะแวดล้อมภายนอกและจากการเรียกร้องขบวนการแปลงสภาพ ระบบการติดต่อสื่อสาร
          2.ระบบปิด  (Closed System) เป็นระบบที่ไม่ต้องการอิทธิพลใด ๆ จากภายนอกและไม่ได้เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ธุรกิจมักจะมองแต่ภายในองค์การของตนเองมากกว่าท่าจะสนใจกับสภาพแวดล้อม รอบ ๆ ตัวธุรกิจไม่ว่าจะเป็นลูกค้า รสนิยมผู้บริโภค สภาพการณ์ของตลาด ฯลฯ 


ประเมินAssessment
ตนเอง My self
มีความพร้อมี่จะเรียน ตั้งใจเรียนเข้าเรียนก่อนเวลาเรียน
เพื่อน Classmate
สนุกสนานไปกับการเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียน ไม่คุยกันขณะอาจารย์พูด 
ผู้สอน Instructor
แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา ดูแลนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง
ห้องเรียน Place
แอร์เย็นพอดี ห้องเรียนสะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม  



บันทึกอนุทินครั้งที่2

บันทึกการเรียนครั้งที่2
Lesson 2

วัน พุธ ที่18 เดือน มกราคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล

การบริหารสถานศึกษา
          การบริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าหรือผู้นำดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร โดยใช้กระบวนการบริหารกลุ่มบุคคล กระบวนการต่างๆ ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำใหม่ เป็นผู้นำทางความคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างแรงจูงใจและจัดสรรการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เป็นกลุ่มงานที่สัมพันธ์กันอย่างดี มีพลังคนที่มีความสามารถพร้อมสร้างบุคลากรให้ทำงานได้อย่างถูกต้องเพื่อให้บุคลากรร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพของงานภายในสถานศึกษาและให้บริการทางการศึกษาแก่สมาชิกของสังคม

ความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา
          สิ่งที่ต้องตระหนักหรือให้ความสำคัญ คือการบริหารงานบุคคล เพราะบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าในองค์กร ที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์กรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรที่ปฏิบัติงาน เสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ นั้นหมายถึงผู้บริหารจะต้องมีความรู้เรื่องการบริหารเป็นอย่างดี

หลักการและแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา
          ขอบข่ายของการปฏิบัติงานของสถานศึกษาในการบริหารงานบุคคลนั้นมี
ภาระงานที่สำคัญๆ ที่สถานศึกษาควรปฏิบัติ ประกอบด้วย
          1.การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง โดยมีการวิเคราะห์ภารกิจและประเมินสภาพความต้องการกำลังคน กับภารกิจของสถานศึกษามีการจัดทำภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และแจ้งภาระงาน มาตรฐานคุณภาพงาน มาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ เกณฑ์ประเมินผลงานแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาก่อนมีการมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติงาน
          2.การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง โดยมีการดำเนินการสอบแข่งขัน สอบคัดเลือกและคัดเลือกในกรณีจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษในตำแหน่งครูผู้ช่วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นในสถานศึกษา

การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
          ศาสตร์ เพราะ มีหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏีที่เชื่อถือได้ เกิดจากการศึกษา
ค้นคว้าเชิงวิทยาสาสตร์
          ศิลป์ เพราะต้องทำงานกับคน ต้องเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล 
ต้องฝึกให้ชำนาญ จึงต้องประยุกต์ใช้อย่างมีศิลป์


ตัวอย่างทฤษฎีที่นำมาใช้ในการบริหาร

ทัศนะดั้งเดิม (Classical viewpoint)
การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
       Frederick. W. Taylor (เทเลอร์) บิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ได้เสนอ หลัก 4 ประการ
1. ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการแยกวิเคราะห์งาน
2. มีการวางแผนการทำงาน
3. คัดเลือกคนทำงาน
4. ใช้หลักการแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ

การจัดการเชิงบริหาร
Henry Fayol : หลักการบริหาร 14 หลักการ และขั้นตอนการบริการ POCCC
Chester Barnard : ทฤษฏีการยอมรับอำนาจหน้าที่
Luther Gulick : ใช้หลักการของ Fayol
    โดยใช้คำย่อว่า POSDCoRB ซึ่งเป็นหน้าที่ 7 ประการ

การบริหารแบบราชการ
Max Weber พัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
1. มีกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการตัดสินใจ
2. ความไม่เป็นส่วนตัว
3. แบ่งงานกันทำตามความถนัด ความชำนาญเฉพาะทาง
4. มีโครงสร้างการบังคับบัญชา
5. ความเป็นอาชีพที่มั่นคง
6. มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ โดยมีกฎระเบียบรองรับ
7. ความเป็นเหตุเป็นผล

 ข้อเสียของระบบราขการ
-ระเบียบปฏิบัติที่เคร่งครัดเกินไป ไม่ยืดหยุ่นทำให้งานล่าช้า ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์
-การรวมศูนย์อำนาจ ทำให้ตัดสินใจล่าช้า ไม่ทันเหตุการณ์และเทคโนโลยี
-การมีสายการบังคับบัญชา ทำให้เกิดการชิงดีชิงเด่น ประจบประแจง
-การแบ่งงานตามความถนัดเป็นกลุ่ม ทำให้เกิดการสร้างอาณาจักร

ทั้ง 3 ทฤษฎีมีความเหมือนและความแตกต่างกันคือ
ความเหมือน
          ด้านโครงสร้าง เน้นการแบ่งงานกันทำ การมีสายการบังคับบัญชา กำหนดหน้าที่ของการบริหาร เน้นหลักการ
         ด้านผู้ปฏิบัติ เหมือนเครื่องจักร เน้นสิ่งจูงใจด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงในงาน ความต้องปรับตัวเข้ากับงาน
         ด้านผู้นำ ให้ความสำคัญกับบทบาทผู้นำ เอกภาพ ระบบคุณธรรม เป้าหมายองค์กรสำคัญกว่าบุคคล
         ด้านการตัดสินใจ เน้นความเป็นเหตุผล ประสิทธิภาพ กำไร
ความต่าง
Taylor : กำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุด The one best way
Fayol   : เน้นหลักการ 14 หลักการ
Weber   : เน้นระเบียบข้อบังคับ มีเกณฑ์ประเมินผล



ประเมินAssessment
ตนเอง My self
มีความพร้อมี่จะเรียน ตั้งใจเรียนเข้าเรียนก่อนเวลาเรียน
เพื่อน Classmate
สนุกสนานไปกับการเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียน ไม่คุยกันขณะอาจารย์พูด 
ผู้สอน Instructor
สอนเนื้อหาได้เข้าใจง่าย แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา ดูแลนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง
ห้องเรียน Place
แอร์เย็นพอดี ห้องเรียนสะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม