ยินดีต้อนรับสู่ Blogger ของ นางสาวประภัสสร สีหบุตร ค่ะ

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

บัทึกอนุทินครั้งที่9

บันทึกการเรียนครั้งที่9
Lesson 9

วัน พุธ ที่ 22 เดือน มีนาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge

นำเสนอคำคม

      นางสาว ยุภา  ธรรมโคตร

 
  สรุปใจความจากคำคมได้ว่า ก่่อนจะบริหารอย่างอื่นจะต้องบริหารชีวิตตัวเองให้ได้ก่อน หากบริหารชีวิตตัวเองไม่ได้จะบริหารงานสำเร็จได้อย่างไร


นางสาว วัชรี วงศ์สะอาด

สรุปใจความจากคำคมได้ว่า อย่าตัดสินคนอื่นด้วยบุคลิกภาพภาพนอก ให้ดูที่ความสามารถของเขาว่าเขามีอะไรเเละทำอะไรได้


เรียนรู้เรื่อง การมีบุคลิกที่ดีเเละการเเต่งกายที่ให้เหมาะสมกับโอกาสและสถานที่

บุคลิกภาพ
          บุคลิกภาพในทางสังคม หมายถึง ภาพของแต่ละบุคคลที่ปรากฏในด้านการแต่งกายท่วงทีกริยา การแสดงออก ที่จะทำให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจทั้งในด้านบวกหรือด้านลบผู้ที่ปรากฏกายอย่างดีทั้งด้านการแต่งกายและมารยาทสังคมอันดี จะเป็นที่ประทับใจใคร่คบหาษมาคมนิยมชมชื่น บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่ที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝน 

การเสริมสร้างบุคลิกภาพ
          การเสริมสร้างบุคลิกภาพสามารถพัฒนาได้ ตั้งแต่การเคลื่อนไหว การทรงตัว
การพูดความสะอาดหมดจดความนึกคิดที่ดี ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ดังนี้
- การนั่ง ควรนั่งไหล่ตรง หลังตรง วางมือในที่อันควร
- การยืน ควรยืนตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง ขาตรง เท้าชิด หรือเบี่ยงเล็กน้อย
- การเดินและการเคลื่อนไหว ควรเดินตัวตรง ศีรษะตั้งตรง แกว่งแขนเล็กน้อย
- การหยิบของที่พื้น ควรย่อตัวลงหยิบ ไม่ใช่ก้มตัวลงหยิบ
- การพูด ควรพูดด้วยจังหวะที่ดี ใช้น้ำเสียงที่จริงใจ ให้ความรู้สึกเป็นมิตร
- การแสดงสีหน้า ควรแสดงสีหน้าปกติ ไม่แสดงความยินดี โกรธ หรือเย็นชาจนเกินไป
- การคิด ควรคิดแต่สิ่งที่ดี ไม่หมกมุ่นอยู่กับความทุกข์
         การรักษาสุขภาพและความสะอาด ควรรักษาน้ำหนักให้เหมาะสมกับความสูง
รักษาสุขภาพกายและจิตให้ดีอยู่เสมอ รักษาความสะอาดของร่างกาย สุขภาพที่ดี
จะส่งผลให้บุคลิกภาพดีด้วยเช่นกัน

การแต่งกายให้เหมาะสม   
        หมายถึง การใช้เสื้อผ้ารวมถึงเครื่องประดับตกแต่งร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า โดยให้เหมาะสมกับกาละคือเหมาะสมกับเวลากลางวัน กลางคืน งานเลี้ยงต่างๆและเหมาะสมกับเทศะคือเหมาะสมกับสถานที่เช่น สถานที่ราชการ โรงเรียนโรงภาพยนตร์เป็นต้น




เรื่องราวบทบาทผู้นำในรูปแบบต่างๆ ด้วยการเเสดงบทบาทสมมติ


กลุ่มที่1








สรุปจากเนื้อเรื่อง

          เป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการทำงานเเละการวางตัวของผู้บริหาร ในการดำรง
ตำแหน่งซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเเก่บุคลากรเเละเด็กภายในโรงเรียนเเละผลสุดท้ายก็ได้
รับบทลงโทษจากสิ่งที่ผู้บริหารได้กระทำ


กลุ่มที่2








สรุปจากเนื้อเรื่อง

          เป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับ การเป็นผู้นำที่ดี ต้องเป็นทั้งผู้รับที่ดีเเละเป็นผู้ให้ที่ดีเช่นกันการทำงานไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งอะไรทุกคนต้องทำหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุดเเละต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเเก่ลูกน้อง


กลุ่มที่3









สรุปจากเนื้อเรื่อง

         เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารที่เห็นแก่ปัจจัยด้านเงินทุนเเละไม่สนใจในการ บริหารงาน การบกพร่องในหน้าที่ที่ควรทำ



ประเมินAssessment
ห้องเรียนPlace
สะอาดมีพื้นที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม
ตนเองMyself
เข้าห้องเรียนสาย เรียนอย่างมีความสุขไม่น่าเบื่อ
เพื่อนClassmate
มีความกระตือรือร้น ตั้งใจแสดงบทบาทของตัวเองอย่างเต็มที่เรียนอย่างมีความสุข
อาจารย์Instructor
เป็นที่ปรึกษาและสอนอย่างมีความสุขหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะแต่งกายเรียบร้อยเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา ใส่ใจนักศึกษา 








วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกอนุทินครั้งที่8

บันทึกการเรียนครั้งที่8
Lesson 8

วัน พุธ ที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge
                               เทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีสำหรับการเป็นผู้บริหาร


ความหมายของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพภายนอก สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยการฝึกเลียนแบบ และสามารถวัดผลได้ทันที บุคลิกภาพภายนอกที่สำคัญที่สุด คือ บุคลิกภาพทางกายและวาจา
บุคลิกภาพภายใน  บุคลิกภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นส่วนที่สัมผัสได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาในการสัมผัส


สาเหตุที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ คือความท้อถอย
บุคลิกภาพที่ไม่สร้างสรรค์และอยู่ภายในตัวตนแล้วทำให้ความเป็นคนๆ นั้นไม่สมบูรณ์ ได้แก่ความท้อถอยแม้ว่าเป็นประโยคสั้นๆ แต่ถ้าอาการนี้ถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้ว อาการนี้จะเข้ามาทำลายความสมดุลในตัวเรา เข้ามาแทรกในความรู้สึกนึกคิดทำให้พลังและศักยภาพของเราลดน้อยลงกว่าครึ่ง ในเรื่องความท้อถอยมักเกิดขึ้นกับบุคคลที่อยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลในช่วงอายุอื่นจะไม่มีความท้อ บางท่านอาจเกิดอาการท้อเป็นช่วงๆ บางท่านโชคดีไม่รู้จักความท้อ


ความท้อถอยสามารถสังเกตได้จากอาการ 3 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะของความท้อถอยทางด้านอารมณ์ หรือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความอ่อนล้า หมดเรี่ยวหมดแรง เกิดความเครียด ความคับข้องใจ ไม่สบอารมณ์  
2. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ได้แก่ ลักษณะของบุคคลที่ไม่สนใจในพฤติกรรมของใครๆ ไม่ยินดียินร้าย ใครจะทักก็ช่าง ใครไม่ทักก็ช่าง ไม่ใส่ใจพฤติกรรมของคนอื่น มีเจตคติและแนวคิดที่ไม่ดีต่อคนอื่น มองคนอื่นในแง่ร้าย
3. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากการไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานของคนบางท่านอาจจะรู้สึกเองว่าตนเองไร้ความสามารถ การทำงานล้มเหลว งานไม่สมกับที่ตั้งใจไว้ บุคคลกลุ่มนี้จะมองคุณค่าของตนเองต่ำ


แนวทางและวิธีการในการแก้ไขอาการท้อถอย
1. ทุกสิ่งทุกอย่างต้องแก้ไขที่ตัวเราเองเท่านั้น
2. อย่าเป็นคนตั้งความหวัง ความปรารถนาที่สูงสุดเอื้อม
3. สร้างเจคติเรื่องงานใหม่ให้ท่านคิดว่า
งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุขทำงานให้สนุกเป็นสุขเมื่อทำงาน”
4. มองหาจุดมุ่งหมายในชีวิตใหม่


ครูกับการพัฒนาตน
 ครูควรพัฒนาตนเองใน 2 ลักษณะคือ
1. การพัฒนาตนเองในด้านวิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่
   - การพัฒนาในด้านความรู้
   - การพัฒนาในด้านเทคโนโลยี
   - การพัฒนาในด้านคุณลักษณะกับเจตคติ
  2. การพัฒนาตนในด้านการเป็นสมาชิกของสังคม เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
   - การรู้จักตนเองและการเข้าใจตนเอง
   - การสำรวจตนเอง
   - การปรบปรุงตนเองในด้าน การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก – ภายใน การพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดี การพัฒนามนุษยสัมพันธ์ การพัฒนาการเรียนรู้


หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ
การยืน เดิน นั่งเป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอิริยาบถคือการเดิน ยืน นั่ง เปิด-ปิดประตู ขึ้นลงรถ อย่างถูกต้องสวยงาม  
การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล สถานที่ และเวลา อย่างถูกต้องถือว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น การรู้จักกราบไหว้ที่ถูกวิธี และถูกกาลเทศะ
การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ การปฏิบัติตนในงานเลี้ยงต่างๆการไปเยี่ยมคนป่วยการมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส เป็นต้น  
บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม คือไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี


การพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด
ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดีไม่มองคนในแง่ร้ายจิตใจก็เป็นสุข ไม่มีความกังวล ดังนั้นจึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิดดังนี้
 1.  มีความเชื่อมั่นในตนเองในการกระทำในสิ่งต่าง ๆ
 2.  มีความซื่อสัตย์ กระทำตนให้ผู้อื่นเชื่อถือเรา แล้วความไว้วางใจจะตามมา มีเรื่องสำคัญเขาก็จะให้เราทำ
 3.  มีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้น ให้เหมาะสมกับผู้ที่มอบหมายไว้วางใจให้เราทำ
 4.  มีความกระตือรือร้น ที่อยากจะทำ เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
 5.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ
 6.  มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องมีความห่วงใยจะต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา   7.  มีความรอบรู้                   
 8.  ห่วงตัวเอง เติมชีวิตให้กับตัวเอง
 9.  มีความจำแม่น                
10. วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ



ประเมินAssessment
ตนเอง My self
ตั้งใจฟังอย่างมีสมาธิ ไม่คุยกันกับเพื่อนขณะที่ครูสอน สามารถนำเอาความรู้ที่ได้มาใช้ในการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้กับตัวเอง
เพื่อน Classmate
ตั้งใจฟัง อย่างดีไม่เสียสมาธิ ไม่คุยกันขณะฟังเพื่อนนำเสนอ
ผู้สอน Instructor
มีการเตรียมความพร้อมในการสอน อธิบานการสอนได้เข้าใจง่ายพูดจาไพเราะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา
ห้องเรียน Place
สะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม


                                                                
                                                        

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกการเรียนครั้งที่7
Lesson 7

วัน พุธ ที่8 เดือน มีนาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge

นำเสนอคำคม

1.นางสาวปัณฑิตา  คล้ายสิงห์


          
          จากข้อความสุปได้ว่าการดำเนินชีวิตต้องรู้จักการวางแผน หากเราไม่มีการวางแผนชีวิตชีวิตเราจะมีความก้าวหน้าและจะเจริญได้อย่างไร


                                                          2.นางสาว ชนากานต์  แสนสุข



          จากข้อความสุปได้ว่ามีความสุขในชีวิตของตัวเองโดยที่ไม่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับใคร พอใจในตัวเอง แล้วเราจะมีความสุข


                                                             3.นางสาวสุจิตรา  มาวงศ์

  
          
          จากข้อความสุปได้ว่าการทำงานต้องมีหัวหน้าที่ดี ที่เป็นเสาหลัก เพื่อให้งานนั้นเกิดความสำเร็จและลุล่วงผ่านไปด้วยดี


4.นางสาวภัทรวรรณ  หนูแก้ว


         
           จากข้อความสุปได้ว่าต้องรู้จักคิดให้หลากหลายและมีเหตุผลอย่าจำกัดความคิดของตัวเอง


5.นางสาวสุทธินี  โนนริบูรณ์


          
          จากข้อความสุปได้ว่าควรคิดควรทำสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อโลก


นำเสนอวิจัย

1.งานวิจัย เรื่อง การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
การศึกษาระดับ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศิลปกร
ผู้วิจัยนางสาวกัญวัญญ์  ธารีบุญ
ปีการศึกษา 2557

          วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
1.เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
2.เพื่อทราบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารศาสตร์ศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
3.เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของ
ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย

          ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.การบริหารแบบมีส่วนร่วมจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ
2.เพื่อให้บุคลากรรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญในหน้าที่ของตน และรู้สึกว่าตนเองมีค่าต่อทีมเสมอ
3.เกิดการยอมรับ และสร้างความมั่นใจในคุณค่าของการทำงานเป็นทีม และรู้สึกว่าตนเองมีค่าต่อทีมเสมอ และแสดงความสามารถมากขึ้น
4.ส่งผลให้องค์การมีโอกาสก้าวหน้าในงาน เกิดความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จ จะช่วยจูงใจให้เกิดการเสียสละ อุทิศตนในงาน
5.โรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัยสามารถนำงานวิจัยชิ้นนี้ไปพัฒนาโรงเรียนของตนเองได้

          งานวิจัยนี้นำแนวคิดทฤษฎีแนวทางการบริหารมาใช้
รุสโซ ทฤษฎีการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
ประการที่ 1 การมีส่วนร่วมต้องตั้งอยู่บนฐานของเสรีภาพ
ประการที่ 2 กระบวนการมีส่วนร่วมนั้นจะต้องตั้งอยู่บนฐานของความเสมอภาค
ติน ปรัชญพฤทธิ์ แบ่งทฤษฎีการมีส่วนร่วมออกเป็น 2 กลุ่ม
          1) ทฤษฎีความเป็นผู้แทน เน้นความเป็นผู้แทนของผู้นำ และถือว่าการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งและ/หรือถอดถอนผู้นำเป็นหลักประกันกับการบริหารที่ดี
          2) การมีส่วนร่วมเป็นการให้การศึกษาและพัฒนาการกระทำทางการเมืองและสังคมที่มีความรับผิดชอบ ไม่ยอมให้มีส่วนร่วมนับว่าเป็นการคุกคามต่อเสรีภาพของผู้ตาม

          สะท้อนความรู้ที่ได้จาการวิจัย  
          การเปลี่ยนแปลงของสังคมและการปฏิรูปการศึกษา  ทำให้ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาต้องร่วมมือกันทำงานโดยเฉพาะในบทบาทด้านการบริหาร การสอน การประกันคุณภาพ และการวิจัย จำเป็นต้องอาศัยการระดมความคิด การร่วมแก้ปัญหาโดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ทักษะความชำนาญสูงๆ จึงจะทำให้องค์การประสบความสำเร็จได้
          จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานแบบมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย ขึ้นอยู่กับ 3 องค์ประกอบ คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านความเป็นอิสระในการบริหารองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และด้านการร่วมกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย



2.วิจัยเรื่อง   ความเป็นผู้บริหารมือชีพของมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การศึกษาระดับ   ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัย    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้วิจัย    อัญชลี พิมพ์พจน์
ปีการศึกษา   2553


          วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใน 9 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน  ด้านการบริหารกิจการนักเรียน ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิจัยทางการศึกษา  ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ตามความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานขิงมหาบัณฑิต
2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิตในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา   มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำแนกตามสถานภาพ หน่วยงานที่สังกัดและปีที่สำเร็จการศึกษา

          ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์การใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารการศึกษา
อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรม และระบบ
คุณค่าแห่งสังคมไทยโดยรวม ท้องถิ่นและชุมชน
2.เป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ก้าวทันมิติแห่งการเปลี่ยนแปลง
3.มีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อประโยชน์ต่อการบริหาร
การศึกษาให้บรรลุผล และมีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้า สามารถนําเอา
ทฤษฎีหรือผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการบริหารการศึกษา
4.มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทํางาน
5.มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรม

          สะท้อนองค์ความรู้ที่ได้จากวิจัย
         สามารถนำความรู้ในการวิจัยเบื้องต้นไปปรับใช้ในการเป็นผู้บริหารมืออาชีพได้โดย  การนำหลักการบริหารทั้ง  9  ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน  ด้านการบริหารกิจการนักเรียน ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิจัยทางการศึกษา  ด้านคุณธรรมและจริยธรรม จากหลักการที่กล่าวข้างต้น เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่เป็นผู้บริหารที่มีความรอบรู้และบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ประเมินAssessment
ตนเอง My self
มีความพร้อมี่จะเรียน ตั้งใจเรียนเข้าเรียนก่อนเวลาเรียน
เพื่อน Classmate
สนุกสนานไปกับการเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียน ไม่คุยกันขณะอาจารย์พูด 
ผู้สอน Instructor
แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา ดูแลนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง
ห้องเรียน Place
แอร์เย็นพอดี ห้องเรียนสะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม







วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกการเรียนครั้งที่6
Lesson 6

วัน พุธ ที่1 เดือน มีนาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับKnowledge 

การวิเคราะห์เชิงปฎิบัติ SWOT Analysis Workshop
         SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน 
เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต




SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
Strengths        จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses    จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities  โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats           อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ

หลักการสำคัญของ SWOT 
         การวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ 
สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็น การวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นภายนอก ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถ ด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ที่เหมาะสมต่อไป

การวิเคราะห์ SWOT จะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้
1 สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง-โอกาส) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนา
2 สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้าย
3 สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน-โอกาส) สถานการณ์มีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบ
4 สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง-อุปสรรค) สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่มีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ


แบบทดสอบ SWOT 



ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT
           วิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานอย่างไร จุดแข็งของจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงานโอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมาย ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนด การกำหนดกลยุทธ์เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม


ภาพและบรรยากาศภายในชั้นเรียน













ประเมินAssessment
ตนเอง My self
ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม เรียนอย่างมีความสุข
เพื่อน Classmate
สนุกสนานไปกับการเรียน
ผู้สอน Instructor
ให้ความสนใจกับนักศึกษาอย่างทั่วถึง พูดจาไพเราะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา
ห้องเรียน Place
สะอาด เหมาะในการทำกิจกรรม